การตลาดด้านโลจิสติกส์ ในปัจจุบัน มีมากมายหลายช่องทาง หลายบริษัท มักเริ่มต้นกับการสร้างช่องทางของตนเองบนแพลตฟอร์มของโซเชียลมีเดีย แต่จริงๆ แล้ว แพลตฟอร์มที่น่าจะมีความเหมาะสมกับ การตลาดด้านโลจิสติกส์ มากที่สุด น่าจะเป็นการใช้เว็บไซต์ หรือแลนดิ้งเพจ …

บริษัทโลจิสติกส์ต่างๆ มักทำการตลาดด้านโลจิสติกส์ โดยอาศัย connection ของตนเองที่มีอยู่แล้วเป็นทุนเดิม และอาจจะเปิดช่องทางโซเชียลบ้างเล็กน้อย เช่น ทางเฟซบุ๊ค หรือทางไลน์ ซึ่งอาจเพียงพอกับบางบริษัท ที่มองว่า connection ที่มีกับลูกค้าเดิมของบริษัทนั้น แข็งแรงอยู่แล้ว

การตลาดด้านโลจิสติกส์แบบ passive นี้ อาจไม่เพียงพอต่อการเติบโตของบริษัทโลจิสติกส์ในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงมาก ทั้งในด้านคุณภาพการให้บริการ และด้านราคาของสินค้าและบริการ ดังนั้น การทำการตลาดแบบอาศัย connection เดิมๆ ที่มีโดยไม่เสาะแสวงหา connection หรือลูกค้าใหม่ๆ อย่าง active นั้น ถือเป็นการถอยหลังทางด้านการเติบโต แทนที่จะเป็นการทรงตัว และนับวันการเติบโตที่ถดถอยนั้น จะทำให้ธุรกิจถึงทางตันในที่สุด

ด้วยเหตุนี้ การทำการตลาด ด้านโลจิสติกส์ จึงควรใช้แนวทางที่ active มากกว่า และมองหาลูกค้าที่ active ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะลูกค้าที่มองหาสินค้าหรือบริการที่เราเป็นผู้ขายหรือเป็นผู้ให้บริการ

การตลาดด้านโลจิสติกส์“ในธุรกิจบริการอย่างโลจิสติกส์และการขนส่ง ควรมีการทำการตลาดเชิงรุกในทุกทาง ไม่เฉพาะในการรุกสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าปัจจุบัน แต่ในการหาลูกค้าใหม่ที่ได้มาจากแนวทางการตลาดที่หาลูกค้าที่ active หรือผู้ที่ไขว่คว้าหาสินค้าหรือบริการของคุณมากขึ้น” คุณ อังกูร กลางชนีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด และผลิตภัณฑ์ดิจิตอล บริษัท F22 Image กล่าว

“แพลตฟอร์มอย่างเว็บไซต์ ช่องยูทูป หรือแอพพลิเคชั่น หรือแพลตฟอร์มที่คนสามารถ search หา และทำการตลาดด้วย “คำค้นหา” หรือ “คีย์เวิร์ด” จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ควรพัฒนา ให้เป็นแพลตฟอร์มหลักในการทำการตลาด เพื่อหา leads ที่จะกลายเป็นลูกค้าใหม่ต่อไป ขยายฐานลูกค้า และขยายกลุ่มผู้สนใจในสินค้าหรือบริการของตนเอง”

พฤติกรรมของผู้บริโภค หรือผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสินค้าและบริการที่เฉพาะทาง อย่างบริการโลจิสติกส์ ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยยังคงเป็นพฤติกรรมที่มีการเสาะแสวงหาสินค้าหรือบริการเป็นหลัก มากกว่าการมองเห็นผ่านๆ จากงานโฆษณาทางสื่อ

การตลาดด้านโลจิสติกส์ จึงควรพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการเสาะแสวงหาของลูกค้า และสร้างความสนใจมากขึ้นจนทำให้ลูกค้าติดต่อเรา หรือให้เราติดต่อลูกค้ากลับจากข้อมูลที่ลูกค้าให้ไว้ ทำให้เกิดการสร้าง sales leads ในที่สุด เพื่อให้เราสามารถสร้างการขายใหม่ๆ ได้

“ในการสร้าง leads นั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องคำนึงถึง” คุณ อังกูร กล่าว “อย่างการ build ความสนใจ ให้ลูกค้าเห็นคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับ หรือการสร้าง FOMO หรือ Fear of Missing out หรือพูดอย่างก็คือ การที่ลูกค้ากลัวตกขบวน หรือพลาดผลประโยชน์ที่จะได้รับ หากไม่รีบตัดสินใจ ทั้งนี้ มีกลยุทธ์หลายอย่างด้านการตลาดที่สามารถทำได้ และแพลตฟอร์มของลูกค้าก็ต้องสามารถรองรับการทำกลยุทธ์ต่างๆ เหล่านั้นได้ด้วย”

การตลาดด้านโลจิสติกส์
นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงการดีไซน์ ซึ่งจะมีความสำคัญกับภาพลักษณ์ของสินค้าและบริษัท การดีไซน์จึงต้องมีความเป็นมืออาชีพ มีมาตรฐาน และ guideline และ style ที่ใช้ทั่วทั้งเว็บไซต์ มีความเร็วในการโหลด และ respond ทั้งบนเดสก์ทอป และอุปกรณ์มือถือ และต้องแสดงข้อมูลบนอุปกรณ์มือถือได้อย่างมีประสิทธิภาพและจูงใจไม่แพ้บนเดสก์ทอป

“บริษัทอย่าง F22 Image ที่มีทีมงานด้านการพัฒนาเว็บไซต์อย่างมืออาชีพสำหรับบริษัทและองค์กรมากมาย ด้วยประสบการณ์มากกว่า 10 ปี เข้าใจถึงความต้องการในทุกด้านสำหรับการทำการตลาดด้านโลจิสติกส์ และการขนส่ง และเข้าใจถึงเครื่องมือและระบบต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำการตลาด” คุณ อังกูร กล่าว “เราจะต้อง optimize ในทุกด้าน เพื่อให้แพลตฟอร์มที่พัฒนาขึ้นนั้น สามารถสร้าง leads ได้ตามต้องการ เพื่อให้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากับผู้ประกอบการจริงๆ”

สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาเว็บไซต์สำหรับบริษัท หรือร้านค้า หรือต้องการเพิ่มเว็บไซต์หรือแลนดิ้งเพจสำหรับสินค้าหรือบริการหรือรายการส่งเสริมการขายใดๆ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและติดต่อรับคำปรึกษากับฝ่ายการตลาดของบริษัท F22 ได้ f22image.com