ถือเป็นสิ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนของประเทศ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับแรงงาน ได้มีหลักประกันที่ดี มีรายได้สูงขึ้น และได้ทำงานที่มีคุณค่า เป็นไปตามความต้องการของตลาดแรงงาน จนนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
ซึ่งการได้รับค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ เป็นเสมือนเส้นทางความก้าวหน้าในสาขาอาชีพ (Career Path) ของลูกจ้าง ตั้งแต่เริ่มต้นเข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่(Unskilled Labour) จนกระทั่งถึงระดับช่างฝีมือ (Skilled Labour)
ทำให้คนทำงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน การผลิตสินค้าและบริการมีคุณภาพยิ่งขึ้น ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้รับประโยชน์จากการใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
ล่าสุดเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 8) โดยปรับปรุงอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ในกลุ่มสาขาอาชีพช่างเครื่องกล กลุ่มสาขาอาชีพอุตสาหกรรมศิลป์ กลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ รวม 19 อาชีพ ดังนี้
1. สาขาอาชีพช่างสีรถยนต์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 440 บาทระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 550 บาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 585 บาท
2. สาขาอาชีพช่างเคาะตัวถังรถยนต์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 465บาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 560 บาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 650 บาท
3. สาขาอาชีพช่างซ่อมรถยนต์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาทระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 490 บาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 585 บาท
4. สาขาอาชีพช่างเย็บ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 345 บาท ระดับ 2เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 410 บาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ550 บาท
5. สาขาอาชีพช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 440 บาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 605 บาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 825 บาท
6. สาขาอาชีพช่างเครื่องเรือนไม้ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 370 บาทระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 425 บาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 480 บาท
7. สาขาอาชีพช่างบุครุภัณฑ์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 355 บาทระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 410 บาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 465 บาท
8. สาขาอาชีพช่างสีเครื่องเรือน ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 385 บาทและระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 495 บาท
9. สาขาอาชีพช่างบำรุงรักษารถยนต์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 375บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 440 บาท
10. สาขาอาชีพช่างซ่อมเครื่องยนต์ดีเซล ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ400 บาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 490 บาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 585 บาท
11. สาขาอาชีพช่างเครื่องปรับอากาศรถยนต์ขนาดเล็ก ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 490 บาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 585 บาท
12. สาขาอาชีพนักบริหารการขนส่งสินค้าทางถนน ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 460 บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 550 บาท
13. สาขาอาชีพผู้ควบคุมรถยกสินค้าขนาดไม่เกิน 10 ตัน ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 475 บาท
14. สาขาอาชีพผู้ควบคุมสินค้าคงคลัง ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 385บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 465 บาท
15. สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการคลังสินค้า ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 375บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 455 บาท
16. สาขาอาชีพพนักงานเตรียมวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 350 บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 380 บาท
17. สาขาอาชีพพนักงานผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้จริงด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 395 บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 455 บาท
18. สาขาอาชีพพนักงานประกอบเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 365 บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 415 บาท
19. สาขาอาชีพช่างทำสีเฟอร์นิเจอร์ไม้จริง ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ375 บาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 415 บาท
การปรับอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือทั้ง 19 อาชีพ นอกจากจะเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับคนทำงานแล้ว ยังสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานทั่วไปได้มีการพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้ได้รับค่าจ้างสูงขึ้นอีกด้วย
เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และในที่สุดประโยชน์โดยรวมจะตกอยู่กับประเทศไทยของเรา